Imbalance คืออะไร
Imbalance หรือความไม่สมดุลของราคา เป็นแนวคิดสำคัญที่ถูกนำเสนอโดย ICT (Inner Circle Trader) ซึ่งอธิบายว่าตลาดมักจะพยายามสร้างความสมดุลระหว่างด้านซื้อ (Buy Side) และด้านขาย (Sell Side) ในทุกช่วงราคาบนกราฟ
ความหมายของ Imbalance
- Buy Side หมายถึง การเคลื่อนไหวของราคาในทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการย้อนกลับหรือแกว่งตัวมากนัก
- Sell Side หมายถึง การเคลื่อนไหวของราคาในทิศทางขาลงอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการดีดตัวขึ้นหรือแกว่งตัวมากนัก
- Balanced Range คือช่วงราคาที่มีทั้ง Buy Side และ Sell Side อยู่ในสัดส่วนที่สมดุลกัน
- Imbalanced Range คือช่วงราคาที่มีเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น Buy Side หรือ Sell Side เพียงอย่างเดียว ซึ่งถือว่าเป็นจุดไม่สมดุล
ตัวอย่างของ Imbalance ในแท่งเทียน
- ในแท่งเทียนขาขึ้น (สีเขียว) ส่วนไส้เทียนถือเป็น Imbalanced Range เพราะมีเพียง Buy Side เท่านั้น ส่วน Wick ด้านบนและล่างถือเป็น Balanced Range เพราะมีทั้ง Buy และ Sell Side
- ในแท่งเทียนขาลง (สีแดง) ไส้เทียนก็จะเป็น Imbalanced Range เช่นกัน เพราะมีเพียง Sell Side ส่วน Wick จะเป็น Balanced Range (อธิบายอ้างอิงจาก
Fair Value Gap (FVG)
เมื่อมีข่าวหรือปัจจัยที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อตลาด ราคามักจะเกิดการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วจนข้ามผ่านช่วงราคาบางส่วนไป ทำให้เกิด Fair Value Gap (FVG) ขึ้น ซึ่งเป็นช่องว่างระหว่าง Imbalanced Range (จากเนื้อหาของ Trendspider.com ไม่ระบุผู้เขียน) ที่ตลาดยังไม่ได้กลับมาสร้างสมดุลในภายหลัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบคือ
- Buy Side Imbalance Sell Side Inefficiency (BISI) คือ FVG ที่เกิดจากการขาดหายไปของ Sell Side ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของ Buy Side หรือเป็นช่องว่างราคาในกรอบขาขึ้น
- Sell Side Imbalance Buy Side Inefficiency (SIBI) คือ FVG ที่เกิดจากการขาดหายไปของ Buy Side ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของ Sell Side หรือเป็นช่องว่างราคาในกรอบขาลง
วิธีวิเคราะห์ Imbalance เพื่อหาโอกาสเทรด
- สังเกตแท่งเทียนเป็นชุดๆ อย่างน้อย 3 แท่งติดกัน ดูว่ามีการทับซ้อนกันของ High-Low หรือไม่
- ถ้า High-Low ของแท่งปัจจุบันอยู่ภายในกรอบของแท่งก่อนหน้า ถือว่าเป็น Balanced Range
- ถ้า High-Low ของแท่งปัจจุบันไม่แตะเลยกับแท่งก่อนหน้า แสดงว่ามี FVG เกิดขึ้น ให้วัดขนาดของ FVG จากระยะห่างระหว่าง High-Low
- ดูว่าตลาดจะพยายามกลับมาปิด FVG เพื่อสร้าง Balanced Range ใหม่หรือไม่ เพียงใด
- อาจจะมีการย้อนกลับมาปิดแค่บางส่วน หรือทั้งหมดของ FVG ก่อนที่จะดีดตัวต่อไปในทิศทางเดิม
- หรืออาจจะผ่านไปเลยโดยไม่สนใจที่จะปิด FVG ก็ได้ โดยเฉพาะถ้ามีการเบรคโครงสร้างตลาดก่อนหน้าและเกิด Momentum ที่แข็งแกร่งมากๆ
- ใช้ FVG เป็นโซนสำหรับวางแผนเทรด เช่น
- ถ้าเป็น FVG ในกรอบขาขึ้น (BISI) ที่เกิดหลังการเบรคโครงสร้างตลาดขาลงก่อนหน้า อาจใช้เป็นจุด Buy เมื่อราคาย้อนกลับมาบริเวณนี้ เพื่อคาดหวังการดีดตัวต่อ
- ถ้าเป็น FVG ในกรอบขาลง (SIBI) ที่เกิดหลังการเบรคโครงสร้างตลาดขาขึ้นก่อนหน้า อาจใช้เป็นจุด Sell เมื่อราคาดีดกลับมาชนแนวต้านบริเวณนี้ เพื่อคาดหวังการร่วงลงต่อ
- ระวังกรณีที่เกิด FVG ทับซ้อนกัน โดยราคาวิ่งไปอีกทิศทางหนึ่งจนเกิด FVG แล้วกลับตัวมาปิดช่องว่างพร้อมสร้าง FVG ใหม่ในอีกด้าน ซึ่งมักจะเป็นสัญญาณของการกลับตัวที่ชัดเจน เพราะไม่เพียงแต่ปิด Imbalance เดิม แต่ยังเปิด Imbalance ใหม่ในทางตรงข้าม
*หมายเหตุ: ดูตัวอย่างเพิ่มเติม จาก Tradingview ของ ICT Imbalances (fadi)
บทสรุป
Imbalance หรือความไม่สมดุลของราคา ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เทรดเดอร์วิเคราะห์ทิศทางและโอกาสในการเทรดตามแนวคิดของ ICT ได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิด FVG หรือช่องว่างราคาจากการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของตลาด ซึ่งสามารถใช้เป็นโซนสำหรับเข้าออเดอร์ตามสถานการณ์ที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตามการพิจารณาเพียงแค่ Imbalance เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ควรต้องดูปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น โครงสร้างตลาดในกรอบเวลาที่สูงกว่า แนวโน้มราคา อินดิเคเตอร์ และวอลุ่มการซื้อขาย เพื่อยืนยันสัญญาณและบริหารความเสี่ยงได้ดีขึ้น
Dojipedia เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลการลงทุนเกี่ยวกับตลาด Forex มีประสบการณ์การลงทุนในตลาด Forex มา 5 ปี ภายหลังจากที่ศึกษาการวิเคราะห์ทางเทคนิค และได้สนใจทั้ง Elliott Wave, ICT Trading, Smart Money Concept และวิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ จนชำนาญ พบว่า ความรู้ที่ตัวเองศึกษาได้ผล จึงสร้างเว็บขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ความรู้ เรามีแผนการเขียนหนังสือ การวิเคราะห์ทางเทคนิค เพื่อแจกฟรี สามารถหาโหลดได้โดยไม่มีวัตถุประสงค์ทางการค้า
ความชำนาญ
- การเลือกโบรกเกอร์ Forex
- Inner Circle Trader
- Smart Money Concept
- Elliott Wave
- Tradingview Technical Analysis
ผลงาน
- รวมรูปแบบกราฟแท่งเทียนญี่ปุ่น โดย Dojipedia
- หนังสือ ทฤษฎี Dow Theory โดย Dojipedia
- หนังสือ สามมหาวิถี โดย Homma เรียบเรียง โดย Dojipedia
- หนังสือ The Martingale โดย Dojipedia
- หนังสือ Inner Circle Trader (ICT Concept) โดย Dojipedia (EN), (TH)